สรุปทฤษฎีการสอนแบบ Flipped Classroom Model
สรุปการนำไปใช้ คือดิฉันนำไปใช้พัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลและแบบรายกลุ่ม เหมือนการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดิฉันก็มีการถามเป็นรายคน และมีงานให้ทำเป็นรายกลุ่ม เพื่อจะทำให้มีการปรึกษาหารือกัน และทำให้นักเรียนทุกคนมีความเข้าใจมากยิ่งๆขึ้น
สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์ (2544: 6) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียนไว้ว่า
1. ช่วยแก้ปัญหาในห้องเรียน
2. ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
3. ปรับเปลี่ยนบทบาทครูใหม่
4. เสริมพลังอำนาจแก่ครูในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน
5. ทำให้ได้รู้ถึงวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล
6. กระตุ้นการสอนแบบสะท้อนกลับ
7. กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนที่มีประสิทธิผล
8. ช่วยตรวจสอบวิธีการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ
9. ช่วยพัฒนาทักษะทางวิชาชีพครู
10. เป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิธีสอนกับผลที่ได้รับ
11. ช่วยให้ครูนำผลการวิจัยไปใช้ในห้องเรียน
12. ทำ ให้ครูสามารถเป็นองค์กรที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ (change agent)
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยในการพัฒนาวิชาชีพครูเนื่องจากให้ข้อค้นพบที่ได้มาจากกระบวนการสืบค้นที่เป็นระบบ และเชื่อถือได้ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังพัฒนาผู้ที่มีส่วนร่วมนำไปสู่การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ และด้วยหลักการสำคัญของการวิจัยปฏิบัติที่เน้นสะท้อนผล ทำให้การวิจัยแบบนี้ส่งเสริมบรรยากาศของการทำงานแบบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และยอมรับในข้อค้นพบร่วมกัน (สุวิมล, 2544: 15)
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่าการทำวิจัยในชั้นเรียนมีประโยชน์ คือ
1. ช่วยให้ครูทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนในการทำงาน
2. ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพโดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพ
3. ครูสามารถสร้างและวิเคราะห์ทางเลือกอย่างหลากหลาย และตัดสินใจเลือก ทางเลือกอย่างมีคุณภาพ มีเหตุผลและสร้างสรรค์
4. ครูใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอน
5. นำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของโรงเรียนได้
ที่ม: http://pattarapon.myreadyweb.com/page-3944.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น