วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนวันที่ 27 กัยยายน 2558




สรุปทฤษฎีการสอนแบบ Flipped Classroom Model










สรุปการนำไปใช้   คือดิฉันนำไปใช้พัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลและแบบรายกลุ่ม เหมือนการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดิฉันก็มีการถามเป็นรายคน และมีงานให้ทำเป็นรายกลุ่ม เพื่อจะทำให้มีการปรึกษาหารือกัน และทำให้นักเรียนทุกคนมีความเข้าใจมากยิ่งๆขึ้น



สรุปวิจัยในชั้นเรียน

สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์ (2544: 6) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียนไว้ว่า
1. ช่วยแก้ปัญหาในห้องเรียน
2. ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
3. ปรับเปลี่ยนบทบาทครูใหม่
4. เสริมพลังอำนาจแก่ครูในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน
5. ทำให้ได้รู้ถึงวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล
6. กระตุ้นการสอนแบบสะท้อนกลับ
7. กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนที่มีประสิทธิผล
8. ช่วยตรวจสอบวิธีการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ
9. ช่วยพัฒนาทักษะทางวิชาชีพครู
10. เป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิธีสอนกับผลที่ได้รับ
11. ช่วยให้ครูนำผลการวิจัยไปใช้ในห้องเรียน
12. ทำ ให้ครูสามารถเป็นองค์กรที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ (change agent)
          การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยในการพัฒนาวิชาชีพครูเนื่องจากให้ข้อค้นพบที่ได้มาจากกระบวนการสืบค้นที่เป็นระบบ และเชื่อถือได้ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังพัฒนาผู้ที่มีส่วนร่วมนำไปสู่การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ และด้วยหลักการสำคัญของการวิจัยปฏิบัติที่เน้นสะท้อนผล ทำให้การวิจัยแบบนี้ส่งเสริมบรรยากาศของการทำงานแบบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และยอมรับในข้อค้นพบร่วมกัน (สุวิมล, 2544: 15)
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่าการทำวิจัยในชั้นเรียนมีประโยชน์ คือ
1. ช่วยให้ครูทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนในการทำงาน
2. ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพโดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพ
3. ครูสามารถสร้างและวิเคราะห์ทางเลือกอย่างหลากหลาย และตัดสินใจเลือก ทางเลือกอย่างมีคุณภาพ มีเหตุผลและสร้างสรรค์
4. ครูใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอน
5. นำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของโรงเรียนได้


ที่ม: http://pattarapon.myreadyweb.com/page-3944.html

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนวันที่ 5กันยายน 2558


การเรียนรู้มาจาก?

จะเห็นว่าการเรียนรู้แบบ PBL ที่เรียนเป็นทีม จะมีกระบวนการเรียนรู้ ๓ อย่างที่ฐานของปิระมิด   อันได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การลงมือปฏิบัติ  และการนำเสนอผลงานต่อเพื่อนร่วมชั้น และ/หรือการเขียนรายงาน   ที่ทำให้เกิดความทรงจำ(retention rate)สูง    เป็นการเรียนรู้แบบงอกงามจากภายใน ผ่านการปฏิบัติ   ซึ่งตรงกับหลักการเรียนรู้แบบ constructionismและที่สำคัญ เรียนแล้วเกิดทักษะ ไม่ใช่แค่จำได้ แต่เรียนแล้วทำได้ อธิบายได้ เกิดปัญญา เน้นที่ ปัญญาปฏิบัติ(Phronesis)
          การศึกษาไทยต้องลดกระบวนการเรียนการสอน ๔ แบบบนยอดปิระมิด   เพิ่มกระบวนการ ๓ อย่างที่ฐานปิระมิด   ลดการเรียนแบบรับถ่ายทอดความรู้   เพิ่มการเรียนแบบสร้างความรู้ขึ้นเองผ่านการปฏิบัติ
          โดยครูอาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทจากครูสอน (teacher) เป็น ครูฝึก (coach)   ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องทำตัวเป็น ผู้เเรียนรู้ วิธีทำหน้าที่ครูฝึก” โดยเน้นเรียนรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ครูฝึก    รวมตัวกันทำงานและเรียนรู้เป็นทีม โดยกระบวนการที่เรียกว่า PLC (Professional Learning Community)
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/487996


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21






ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
         ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21
        หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 
(สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf)